นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน
แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ
การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change)
ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่
20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น
ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of
Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์
การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก
นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ ?นวัตกรรม? ว่า
เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น
ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)
ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot
Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย ?นวัตกรรม? ไว้ว่าหมายถึง
วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ
ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ
ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย ?นวัตกรรม? ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal)
ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม
ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan
edt01.htm)
ความหมายของเทคโนโลยี
คำว่า เทคโนโลยี
ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia"
แปลว่า การกระทำที่ระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี
มักนิยมควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า
"วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่ง พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 :
406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ
วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
นอกจาก นั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16)
ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ
หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม
ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง
ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง
ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์
เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ
มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้ง
กระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้อง กับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม
และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม
หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ความหมายของการศึกษา
“ศึกษา” เป็นคำสันสกฤต
ตรงกับคำ “สิกขา” ในภาษาบาลี
มีความหมายว่าการพัฒนาอบรมตน กล่าว คือ บุคคลที่ต้องการให้คุณลักษณะทางกาย วาจา ใจ
มีคุณภาพสูงกว่าที่เป็นอยู่ บุคคลที่ต้องการศึกษาก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนเพื่อพัฒนาตน
เนื่องจากบุคคลอื่นมาพัฒนาแทนไม่ได้ ดังนั้นการให้การศึกษาที่ดีคือการทำให้บุคคลเกิดความปรารถนาในการพัฒนาตน
ในทางตะวันตก education มีรากศัพท์มาจากคำกริยาลาติน ๒ คำ คือ educare
กับ educere
Educare (เอดูชาเร) หมายถึง
การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาไม่มีศักยภาพในตนพ่อแม่
หรือครูจึงเป็นผู้กำหนด อบรมสั่งสอน ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
ครูสั่ง ผู้เรียนทำ (จิตนิยม)
Educere (เอดูเชเร) หมายถึง
การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมามีศักยภาพในตน
จึงต้องพยายามให้บุคคลแสดงศักยภาพออกมา ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ครูชี้ทาง นักเรียนแสวงหา ประการนี้ดูเหมือนว่าสอดคล้องกับคำว่า “ศึกษา” (ปฏิบัตินิยม)
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
หมายถึง การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ
อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ
มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
นักการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาระบบการจัดการศึกษา-การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
เพิ่มขึ้น โดยได้นำเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)
ซึ่งนักการศึกษาได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้
ดร.เปรื่อง กุมุท
ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า
เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน
ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่
และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526)
ได้ให้นิยามไว้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์
ได้แก่ วัสดุ และผลิตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่
อุปกรณ์โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิธีการ
มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา ทั้งด้านการบริหาร หรืออีกนัยหนึ่ง
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
วิจิตร ศรีสอ้าน
ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า หมายถึงการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ
แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา
ทั้งด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ดังนั้น
เทคโนโลยีจึงครอบคลุมขอบข่ายสำคัญๆ 3 ประการคือ
1. การนำเอาเครื่องมือและอุปกรณ์ใหม่ๆ
มาใช้ประกอบในการเรียนการสอน ได้แก่
การนำเครื่องจักรกลไกและเทคโนโลยีทั้งหลายมาใช้ เช่น เครื่องฉายภาพต่างๆ
เครื่องเสียงต่างๆ คอมพิวเตอร์
2. การผลิตวัสดุการสอน เช่นภาพถ่าย แผนที่แผนภูมิ
รวมถึงเอกสาร ตำรา วัสดุสิ่งพิมพ์และแบบเรียนสำเร็จรูป เป็นต้น
3. การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
นอกจากเครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุการสอนข้างต้นแล้ว
เทคโนโลยียังมีขอบข่ายคลอบคลุมถึงการใช้เทคนิควิธีการใหม่ๆ ในการเรียนการสอนด้วย
เช่น ชุดการเรียนการสอนสำเร็จรูป ศูนย์การเรียน แหล่งการสืบค้น
และการจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง
รศ.ดร.อุทัย ภิรมย์รื่น (อุทัย ภิรมย์รื่น, 2540) ได้จำแนกประเภทการเรียนในห้องเรียนแบบ
เสมือนจริงได้ 2 ลักษณะ คือ
1. จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา
แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับบท เรียน
โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนนักศึกษาก็สามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน
หรือเพื่อนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัย
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นจริง ซึ่งเรียกว่า Physical Education
Environment
2. การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง
เรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตังหนังสือ (Text-Based)
หรือภาพกราฟิก (Graphical-Based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education Environment ซึ่งเป็น
VirtualClassroom ที่แท้จริง
การจัดการเรียนการสอนทางไกลทั้งสองลักษณะนี้
ลักษณะการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะการสอนทาง ไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้เข้าใจระบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมาก ยิ่งขึ้นขอกล่าวถึง 1. การจัดการศึกษาทางไกล และ 2. การจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ดังนี้
การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว
และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน
การทำงาน
หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล
จากความหมายและปรัชญาของการเรียนการสอนทางไกลดังได้กล่าวมาแล้วนั้น
จะเห็นได้ ว่ามีลักษณะเฉพาะสำคัญที่แตกต่างไปจากการศึกษาในระบบอื่นหลายประการ
ดังที่ วิจิตร ศรีสอ้าน (วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ 2534
: 7 - 8) ได้จำแนกลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกลไว้ดังนี้
1. ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างจากกัน
การเรียนการสอนทางไกล เป็นรูปแบบการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนอยู่ห่างไกลกัน
มีโอกาสพบปะหรือได้รับความรู้จากผู้สอนโดยตรงต่อหน้าน้อยกว่าการ ศึกษาตามปกติ
การติดต่อระหว่างผู้เรียนและผู้สอนนอกจากจะกระทำโดยผ่านสื่อต่าง ๆ แล้ว การ ติดต่อสื่อสารโดยตรงจะเป็นไปในรูปของการเขียนจดหมายโต้ตอบกัน
มากกว่าการพบกันเฉพาะหน้า
2. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน
ในระบบการเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนจะมีอิสระใน
การเลือกเรียนวิชาและเลือกเวลาเรียนตามที่ตนเห็นสมควร
สามารถกำหนดสถานที่เรียนของตนเอง พร้อมทั้งกำหนดวิชาการเรียนและควบคุมการเรียนด้วยตนเอง
วิธีการเรียนรู้ก็จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตน เอง
จากสื่อที่สถาบันการศึกษาจัดบริการรวมทั้งสื่อเสริมในลักษณะอื่น ๆ
ที่ผู้เรียนจะหาได้เอง
3. ใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการบริหารและบริการ
สื่อทางเทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก
โดยจัดส่งให้ผู้เรียนทางไปรษณีย์
สื่อเสริมจัดไว้ในหลายรูปแบบมีทั้งรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์
เทปเสียงประกอบชุดวิชา และวิดีทัศน์ประกอบชุดวิชา
สิ่งใดที่มิได้จัดส่งแก้ผู้เรียนโดยตรง สถาบันการศึกษาจะจัดไว้ตามศูนย์การศึกษาต่าง
ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรับฟัง หรือรับชม โดยอาจให้บริการยืมได้
นอกจากสื่อดังกล่าวแล้ว สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางไกลยังมีสื่อเสริมที่สำคัญอีก
เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อ คอมพิวเตอร์ และสื่อการสอนทางโทรทัศน์ฯ เป็นต้น
4. ดำเนินงานและควบคุมคุณภาพในรูปองค์กรคณะบุคคล
การศึกษาทางไกลได้รับการยอม
รับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบและวิธีการจัดการศึกษาในประเทศต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
เพราะสามารถ จัดการเรียนการสอน
ตลอดจนบริการการศึกษาให้แก่ผู้เรียนได้มากกว่าและประหยัดกว่าทั้งนี้เพราะ
ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนครูต่อนักเรียนอาคารสถานที่
ในส่วนคุณภาพนั้นผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาทุกคนต่างมุ่งหวังให้การศึกษาที่ตนจัดบรรละจุดมุ่งหมาย
และมาตรฐานที่รัฐตั้งไว้
การศึกษาทางไกลได้มีการสร้างระบบและองค์กรขึ้นรับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตตและผลิตเอกสารการ
สอน ตลอดจนสื่อการสอนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการออกข้อสอบ ลักษณะเช่นนี้
อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาทางไกลมีระบบการควบคุมคุณภาพของการศึกษาอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด
ความรับผิดชอบในการจัดการศึกษามิได้อยู่ภายใต้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะแต่เน้นการจัดการศึกษาที่มีการดำเนินงานในรุปองค์กรคณะบุคคล
ที่สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
5. มีการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ
กระบวนการเรียนการสอนทางไกลได้รับการออกแบบขึ้น อย่างเป็นระบบ
เริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรและผลิตเอกสาร ตลอดจนสื่อการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งในด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการวัดและประเมินผล
มีการดำเนินงานและผลิตผลงานที่เป็น ระบบ
มีการควบคุมมาตรฐานและคุณค่าอย่างแน่นอนชัดเจน จากนั้นจะส่งต่อไปให้ผู้เรียน
ส่วนการ ติดต่อที่มาจากผู้เรียนนั้น ผู้เรียนจะจัดส่งกิจกรรมมายังสถานศึกษา
ซึ่งหน่วยงานในสถานศึกษาจะ จัดส่งกิจกรรมของผู้เรียนไปตามระบบถึงผู้สอน
เพื่อให้ผู้สอนตรวจตามมาตรฐานและคุณภาพการ ศึกษาที่ได้กำหนดไว้
6. มีการใช้สื่อประเภทต่าง
ๆ หลากหลาย แทนสื่อบุคคล สื่อที่ใช้แตกต่างกันไปตามเนื้อหา
การสอนและการจัดการสอนเป็นการจัดบริการให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
ดังนั้นการดำเนินงานในด้านการเตรียมและจัดส่งสื่อการศึกษาจึงต้องจัดทำในรูปของกิจกรรมทางอุตสาหกรรม
คือมีการผลิตเป็นจำนวนมาก มีการนำเอาเทคนิคและวิธีการผลิตที่จัดเป็นระบบ
และมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนตามระบบอุตสาหกรรม
7. เน้นด้านการผลิตและจัดส่งสื่อการสอนมากกว่าการทำการสอนโดยตรง
บทบาทของ
สถาบันการสอนในระบบทางไกลจะแตกต่างจากสถาบันที่สอนในระบบเปิดโดยจะเปลี่ยนจากการสอนเป็นรายบุคคลมากเป็นการสอนคนจำนวนมาก
สถาบันจะรับผิดชอบด้านการผลิตและจัดส่ง เอกสารและสื่อการศึกษา
การประเมินผลการเรียนของผู้เรียน และการจัดสอนเสริมในศูนย์ภูมิภาค
8. มีการจัดตั้งหน่วยงานและโครงสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการสอนและการบริการผู้เรียน
แม้ผู้เรียนและผุ้สอนจะอยู่แยกห่างจากกันก็ตาม
แต่ผู้เรียนก็จะได้รับการสนับสนุนจากผู้สอนในลักษณะ ต่าง ๆ
มีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาประจำท้องถิ่นหรือประจำภาคขึ้นเพื่อสนับสนุนให้บริการการศึกษา
9. ใช้การสื่อสารติดต่อแบบสองทางในการจัดการศึกษาทางไกล
แม้การจัดการสอนจะเป็น ไปโดยใช้สื่อการสอนประเภทต่าง ๆ แทนการสอนด้วยครูโดยตรง
แต่การติดต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนก็เป็นไปในรูปการติดต่อสองทาง
ซึ่งสถาบันการศึกษาและผู้สอนจะติดต่อกับผู้เรียนโดย จดหมายและโทรศัพท์
ส่วนผู้เรียนก็อาจจะติดต่อกับผู้สอนและสถาบันการศึกษาด้วยวิธีการเดียวกัน
นอกจากนี้ทางสถาบันกาารศึกษายังจัดให้มีการติดต่อกับผู้เรียนด้วยการจัดสอนเสริม
ซึ่งส่งผู้สอนไปสอนนักศึกษาตามศูนย์บริการการศึกษาประจำจังหวัดตามช่วงเวลาและวิชาที่สถาบันกำหนด